ที่มา : http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/239/239/images/rain.jpg |
ที่มา : http://www.polo-otop.com/images/column_1290582409/DSC00127.JPG |
ในกรณีผ้าแห้ง เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์หรือหลอดไฟส่องมากระทบผ้า จะมีแสงส่วนหนึ่งถูกเนื้อผ้าดูดกลืนไว้และสะท้อนแสงออกมาสู่เรตินาในดวงตาของเรา แต่ในผ้าเปียก น้ำจะไปแทรกตัวอยู่ระหว่างรูพรุนในเนื้อผ้า เมื่อแสงตกกระทบมาที่เนื้อผ้าที่เปียก แสงจะเกิดการหักเหระหว่างตัวกลางคือจากน้ำไปอากาศ ทำให้ทิศทางการเดินทางแสงเบนออกไป ซึ่งเป็นไปตามกฎของสเนล (Snell's law) อีกทั้งแสงยังเกิดการสะท้อนระหว่างรอยต่อของผิวน้ำและอากาศอีกด้วย ดังรูป
ที่มา : http://media-1.web.britannica.com/eb-media/91/96591-004-959BC455.gif |
- แสงเริ่มต้นวิ่งที่ไปกระทบน้ำ ที่รอยต่อระหว่างอากาศ-น้ำมีส่วนหนึ่งหักเหลงไป และมีบางส่วนสะท้อนขึ้นมาโดยแสงนี้ยังไม่ถึงเนื้อผ้า
- แสงที่หักเหลงไปจะวิ่งเข้าไปถึงเนื้อผ้าแล้วสะท้อนขึ้นมา
- ณ รอยต่อหว่างน้ำ-อากาศ จะเกิดการหักเหอีกครั้งเป็นไปตามกฎของสเนล และมีแสงบางส่วนสะท้อนกลับไปในผิวน้ำอีกครั้งโดยไม่ส่งผ่านขึ้นมาที่อากาศ
คิดสักนิด ?
จากภาพข้างบนที่มีเด็กๆกลางสายฝนสองคน จะเห็นว่าเม็ดฝนในภาพนั้นเห็นเป็นหยดน้ำชัดเจนอยู่กลางอากาศ คำถามคือ "กล้องหยุดภาพหยดน้ำฝนกลางอากาศนี้ได้อย่างไร ทั้งๆที่น้ำฝนก็เคลื่อนที่ตลอดเวลา"
>>> เดี๋ยวผมจะมาเฉลยในฉบับหน้านะครับ ^_^
เนื้อหาดีมากค่ะ และชอบคำถามมากกกก เดี๋ยวรอคำตอบฉบับหน้านะคะ 555 :)
ตอบลบจริงๆเรายังสามารถคำนวณเปอร์เซ็นการสะท้อนได้ด้วยนะครับ เราอาจคิดถึง fresnel reflection แล้วใช้ดัชนีหักเหของน้ำที่เท่ากับ 1.33 เพื่อหาปริมาณแสงสะท้อน จะเห็นว่าแสงสะท้อนออกมาค่อนข้างน้อย. เมื่อสะท้อนน้อยทำให้แสงที่ดูดกลืนมีการสะท้อนเข้า"ตา"เราน้อย เราจึงเห็นเป็นสีเข้มครับ. สีเข้มคือวัตถุดูดกลืนแสงมาก สะท้อนน้อย. ฟิสิกส์อธิบายอะไรหลายๆอย่างได้มากจริงๆ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบผ้าเปียกกับผ้าแห้งผ้าเปียกจะมี การดูดกลืนและการส่งผ่านมากกว่าหรือน้อยค่ะ เพราะอะไร
ตอบลบ