ที่มา : http://i.kapook.com/tripplep/1-9-53/rainbow5.jpg |
เราทราบว่าแสงขาวที่ออกมาจากดวงอาทิตย์นั้นประกอบด้วยสีหลายสี ดังรูป
ที่มา : http://www.promolux.com/thai/images/spectrum.jpg |
แสงแต่ละสีจะมีความยาวคลื่นไม่เท่ากัน ซึ่งในวัสดุหนึ่งๆ ค่าดัชนีหักเหจะมีค่าแปรผกผันกับความยาวคลื่น หากความยาวคลื่นน้อยดัชนีหักเหจะมาก และหากความยาวคลื่นมากดัชนีหักเหจะน้อย เป็นไปตาม Sellmeier equation ตัวอย่างดังรูป
ที่มา : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/4/4f/Sellmeier-equation.svg |
ที่มา : http://static.ddmcdn.com/gif/rainbow-raindrop.jpg |
ดังนั้นเมื่อแสงขาวซึ่งประกอบด้วยแสงหลายสี (หลายความยาวคลื่น) เดินทางผ่านเข้าไปในละอองหยดน้ำ แสงขาวจะเกิดการหักเห แต่แสงแต่ละสีจะมีค่าดัชนีหักเหไม่เท่ากันจึงเกิดปรากฎการณ์การกระจายของแสง (Dispersion) ก่อให้เกิดเป็นรุ้งกินน้ำ
จากความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นกับดัชนี้หักเห ส่งผลให้ดัชนีหักเหของแสงสีม่วงมีค่ามากกว่าสีแดง (ในหยดน้ำนี้แสงสีม่วง n=1.343, แสงสีแดง n=1.331) ทำให้สีม่วงมีมุมหักเหที่มากกว่าสีแดง ส่งผลให้มองเห็นสีแดงอยู่ด้านบนและเห็นสีม่วงอยู่ด้านล่างของรุ้งกินน้ำนั่นเอง
ที่มา : http://patarnott.com/atms749/pdf/MultipleRainbowsSingleDrops.pdf
ลองคิดสักนิด ?
ในเมื่อทราบกันแล้วนะครับว่าแสงแต่ละสี (แต่ละความยาวคลื่น) จะมีค่าดัชนีหักเหที่แตกต่างกันในตัวกลางเดียวกัน คำถามคือ
ถ้าแสงขาวนี้ผ่านเลนส์เดี่ยวในกล้องถ่ายรูป ภาพที่ถ่ายออกมาจะมีลักษณะอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
>>> ติดตามผลเฉลยตอนต่อไปนะครับ
รุ้งที่สีแดงอยู่ด้านบนก็มีนะ ถ้าแสงที่ส่ิองไปที่หยดน้ำส่องจากด้านล่าง สีมันก็จะสลับกันได้
ตอบลบขอบคุณครับพี่หมี ถ้าเป็นรุ้งแบบนั้นคือรุ้งแบบทุติยภูมิใช่ไหมครับ
ตอบลบhttp://www.atoptics.co.uk/rainbows/sec.htm
ต้องทำให้ชัดอีกหน่อยคือ เราต้องมองละอองน้ำเป็นสองส่วน คือส่วนที่อยู่ด้านบน จะมีสีแดงที่หักเห+สะท้อนกลับหมดตกลงมาที่ตาเรา ส่วนละอองน้ำที่อยู่ด้านล่างจะให้แสงสีม่วงมาติกที่ตาเรา ทำให้เราเห็นแสง(ภาพที่ตกที่ตาเรา)จากละอองน้ำด้านบนเป็นสีแดงและจากละอองน้ำด้านล่างเป็นสีม่วงครับ
ตอบลบ